[email protected] |   080 539-3883 |  

การใช้งานและแก้ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์เย็น เบื้องต้น


บริเวณด้านหน้าตู้คอนเทนเนอร์เย็น (Reefer Container) ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่

  • สายเมนไฟ 440V. 50Hz. - ทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟเข้าตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • Condenser fan (พัดลมคอยล์ร้อน) - ทำหน้าที่ระบายความร้อนของตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • Compressor - ทำหน้าที่ดูดอัดน้ำยาเข้าสู่ระบบทำความเย็นของตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • Evaporator fan (พัดลมคอยลเย็น) - ทำหน้าที่เป่าความเย็นภายในตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • Receiver Tank - ทำหน้าที่พักน้ำยาเพื่อให้น้ำยากลั่นตัว
  • Dryer - ทำหน้าที่เป็นตัวกรองน้ำยา
  • สติกเกอร์ Function Code - แสดง Code การทำงานของตู้คอนเทนเนอร์ได้แก่ กระแสไฟ แรงดันไฟฟ้า ความถี่ ฯลฯ
  • สติกเกอร์ Alarm Code - อธิบาย Code ความมผิดพลาดต่าง ๆ ของตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • Diagram - แสดงแผนผังวงจรไฟฟ้าของตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • ชุด Contractor - ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟจ่ายไฟให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • เบรคเกอร์ - ทำหน้าที่เปิด-ปิดการทำงานของตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • หม้อแปลง - ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้า
  • จอ Display แสดงผล - ทำหน้าที่แสดงข้อมูล อุณหภูมิ Alarm ฯลฯ
  • Controller - ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในตู้คอนเทนเนอร์
  • Keypad - ใช้ตั้งค่าควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของตู้คอนเทนเนอร์เย็น
  • สวิทซ์เปิด-ปิด

วิธีการเซ็ตอุณหภูมิตู้คอนเทนเนอร์เย็น

เมื่อเสียบปลั๊กไฟ แล้วให้ปรับเบรคเกอร์ไปที่ตำแหน่ง On และเปิดสวิตซ์การทำงานตู้คอนเทนเนอร์ จะสังเกตได้ว่าเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ทำงานหน้าจอ Display จะติดทั้ง 2 ด้าน โดยด้านซ้ายจะแสดงอุณหภูมิที่ถูกเซ็ตเอาไว้ และด้านขวาจะแสดงอุณหภูมิภายในตู้คอนเทนเนอร์

การเซ็ตอุณหภูมิทำได้โดยการกดปุ่มขึ้น-ลงที่ Keypad เพื่อเพิ่มลดตัวเลขที่ต้องการเซ็ต ซึ่งตัวเลขอุณหภูมิที่ต้องการเซ็ตจะอยู่ที่จอ Display ทางด้านซ้าย และเมื่อได้อุณภูมิที่ต้องการเซ็ตแล้วให้กดปุ่ม Enter ระบบจะทำการบันทึกการเซ็ตค่าอุณหภูมิให้


วิธีการเคลียร์ Alarm (ที่สามารถแก้ไขได้) ของตู้คอนเทนเนอร์เย็น

กรณีที่ตู้คอนเทนเนอร์เย็นมีการทำงานผิดปกติ บริเวณที่หน้าจอ Display จะแสดงไฟ Alarm สีแดง และที่หน้าจอ display ทางด้านซ้ายจะแสดง Alarm Code (สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดจาก Alarm Code ได้จากสติกเกอร์ Alarm Code บริเวณด้านหน้าเครื่อง) ในการแก้ไขข้อผิดพลาดควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญก่อนทุกครั้ง

วิธีการตรวจสอบว่า Alarm เป็น Alarm สามารถเคลียร์ได้หรือไม่ ทำได้โดยกดปุ่ม Alarm List ที่ keypad 1 ครั้ง จะแสดง Alarm Code ที่หน้าจอ Display ทางด้านขวา Alarm ที่ขึ้นต้นด้วย "AA" จะหมายถึงข้อผิดพลาดที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงทำให้ไม่สามารถเคลียร์ Alarm นั้นได้ ควรปรึกษาช่างทันที แต่หากเป็น Alarm ที่ขึ้นต้นด้วย "IA" จะหมายถึงข้อผิดพลาดนั้นได้ถูกแก้ไขแล้ว สามารถเคลียร์ Alarm นั้นออกได้

เมื่อทำการตรวจสอบแล้วว่าเป็น Alrarm ที่สามารถเคลียร์ได้ ให้กดปุ่ม Alarm List และกดที่ปุ่มลูกศรขึ้น-ลง เลือกคำว่า "Clear" และกดปุ่ม "Enter" Alarm นั้นจะหายไป

.